แต่เมื่อหายแล้วโปรตีนเหล่านี้จะทิ้งรอยแผลเอาไว้จนเกิดเป็นรอยแผลเป็น การเกิดคีลอยด์ก็ขึ้นอยู่กับระดับความลึกของแผลว่าเนื้อเยื่อฉีดขาดมากหรือน้อย หากเป็นแผลที่ลึกโอกาสเกิดคีลอยด์ก็สูงเช่นกัน



ทำอย่างไรไม่ให้คีลอยด์เห็นเด่นชัด

เริ่มตั้งแต่เมื่อเกิดแผล พยายามรักษาแผลให้หายเร็วที่สุด รักษาความสะอาดหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น การสูบบุหรี่ ร่างกายต้องไม่ขาดธาตุสังกะสีและวิตามินซีในระยะเวลารักษาแผล และควรปล่อยให้แผลหายไปเองตามธรรมชาติ หลังจากแผลหายสนิทจึงเป็นขั้นตอนของการรักษารอยแผลเป็น ยารักษาแผลเป็นควรมีคุณสมบัติบำรุงความชุ่มชื่น มีวิตามินอีช่วยการซ่อมแซมเซลล์ผิว วิตามินบี 3 ช่วยลดสีผิวไม่ให้เข้มขึ้น ช่วยยับยั้งอาการอักเสบและลดการสร้างเซลล์คอลลาเจนที่ทำให้ผิวนูนขึ้น (มักจะเป็นสารสกัดจากหัวหอมหรือใบบัวบก)



สำหรับแผลเป็นที่กลัวว่าจะมีสีดำคล้ำขึ้น การใช้ครีม AHA มีส่วนช่วยลดรอยแผลเป็นได้เช่นกัน ครีม AHA เพื่อลดรอยแผลเป็น เหมาะกับแผลที่ค่อนข้างตื้น และหายสนิทแล้วเท่านั้น AHA จะช่วยลดรอยแผลเป็นด้วยการขจัดเซลล์ผิวชั้นนอกสุดออก ทำให้รอยแผลดูจางลง สำหรับรอยแผลเป็นจากสิวก็สามารถใช้ครีม AHA ลดรอยดำจากสิวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สำหรับรอยแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วง 4-8 สัปดาห์ ดังนั้นการดูแลแผลเป็นควรเริ่มแต่เนิ่นๆ และไม่ขาดตอนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นนูน หรือหลีกเลี่ยงให้แผลนูนได้น้อยที่สุด



แต่หากหลีกเลี่ยงคีลอยด์ไม่ได้แล้ว ก็ยังมีวิธีรักษารอยแผลเป็นอีกหลายอย่าง เช่น การฉีดสารเคมีที่ช่วยลดขนาดรอยแผล การใช้เลเซอร์, IPL, รังสี เพื่อการรักษาผิว หรือกระทั่งการผ่าตัดแผลเป็น (เหมาะสำหรับแผลขนาดใหญ่) อย่างไรก็ตามวิธีการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสม

Messenger

CALL CENTER 0-2793-9999

© 2012 PAN RAJADHEVEE GROUP.
ALL RIGHT RESERVED.